วันจันทร์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2552

สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต (ป้าทอง)


สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต หรือที่รู้กันกันในชื่อ ป้าทอง มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า หม่อมสุลาลีวัลย์ สุริยง ณ อยุธยา (เกิดวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2463 - พ.ศ. 2535) ชายาใน หม่อมเจ้าอติวงศ์วิวัสวัติ สุริยง นักแสดงอาวุโสเจ้าบทบาท มีชื่อเสียงในรุ่นเดียวกับ สุพรรณ บูรณพิมพ์ มาลี เวชประเสริฐ โดยมักจะได้รับบทตลกตามนางเอก หรือบทคนใช้ จนถึงบั้นปลายชีวิต มีบางเรื่องที่ได้รับบทนำ เช่น ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ (2523)


สุลาลีวัลย์ สุวรรณทัต เป็นบุตรีของ นายสุหร่าย สุวรรณฑัต และ นางเจอ บุรานนท์ ได้สมรสครั้งแรกกับ ยอแสง ภักดีเทวา ครูโขนในสังกัดกรมศิลปากร มีบุตรชายคือ ทนงศักดิ์ ภักดีเทวา (เกิด 29 ส.ค. 2478) นักร้องเพลงลูกกรุง ชื่อดัง ต่อมาได้สมรสกับหม่อมเจ้าอติวงศ์วิวัสวัติ สุริยง เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2482 มีบุตร-ธิดาอีก 5 คน รวมทั้ง หม่อมราชวงศ์ธิติสาร สุริยง บิดาของ หม่อมหลวงสุรีย์วัลย์ สุริยง นางเอกนักแสดงหนังบู๊ ซึ่งมีศักดิ์เป็นหลานของป้าทอง


ผลงาน
1. กระท่อมใหม่ทะเลเดิม (2533)
2.ต้องปล้น (2533)
3.ธันยาแม่มดยอดยุ่ง (2532)
4.ผัวเชลย (2528)
5.วัยระเริง (2527)
6.ก่องข้าวน้อยฆ่าแม่ (2523)
7.หมอตีนเปล่า (2521)

วันเสาร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2552

เมือง อพอลโล


เมือง อพอลโล (จรูญ จันทร์แก้ว)ฉายาเฟอร์นันโด ซานโจ เมืองไทย



เมื่อไม่นานมานี้มีอดีตดาราภาพยนตร์เสียชีวิต เมื่อไปถึงพบหญิงคนหนึ่ง นั่งอยู่เพียงลำพัง ในศาลารอเวลาพระสวด แต่ไม่มีคนมาร่วมพิธีแม้แต่คน เดียว สอบถามทราบว่าชื่อนางกัลยา สุกกรี อายุ 65 ปี ซึ่งอยู่บ้านเลขที่ 61/9 หมู่ 2 ต.ทรายมูล เป็นภรรยาของผู้ตายคือนายจรูญ จันทร์แก้ว อายุ 71 ปี อดีตดาวร้ายภาพยนตร์ไทย ใช้ชื่อการแสดงว่า เมือง อพอลโล่



นางกัลยาเปิดเผยด้วยน้ำตาคลอเบ้าว่า อยู่กินกันมากว่า 30 ปี โดยเป็นภรรยาคนที่สอง ก่อนหน้านี้นายจรูญเคยมีภรรยาและลูก แต่หลังจากแยกทางกันก็ไม่ได้ติดต่อกันอีกเลย นายจรูญเล่นภาพยนตร์เป็นดาวร้าย มาตลอดในยุคกว่า 30 ปีก่อนที่จะมีมิตร ชัยบัญชา สมบัติ เมทะนี เป็นพระเอก ส่วนนางเอกก็มีเพชรา เชาวราษฎร์ พิศมัย วิไลศักดิ์ อรัญญา นามวงศ์ เป็นต้น แสดงภาพยนตร์มากว่า 300 เรื่อง ซึ่งเป็นภาพยนตร์บู๊แอ็กชั่นยุค 16 มม. หลังจากภาพยนตร์ประเภทนี้เสื่อมความนิยมต้องออกจากวงการไป แต่ไม่ได้ทำงานอะไร อยู่กันเพียง 2 คน ทั้งคู่ใช้เงินเก็บที่มีอยู่อย่างกระเบียดกระเสียรจนหมด ระยะหลังนายจรูญป่วยเป็นโรคเบาหวานถึงขั้นต้องตัดขาทิ้งไปข้างหนึ่ง ต่อมาเกิดอาการไตวาย เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลบ่อยครั้ง


เมื่อสองปีก่อนได้ย้ายมาอยู่ที่บ้าน อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ แต่ยังต้องเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลอยู่ตลอด จนเมื่อหกเดือนก่อนแพทย์ได้ตัดขาทิ้งอีกข้างหนึ่ง ต้องใช้รถเข็น ขณะเดียวกันก็ไม่สามารถติดต่อญาติฝ่ายนายจรูญได้ ประกอบกับฐานะยากจน ทำให้ชีวิตยากลำบากมากขึ้น อย่างไรก็ตามมีญาติของตนคอยช่วยเหลือบ้าง แต่ไม่มากนัก เคยขอความช่วยเหลือไปที่มูลนิธินักแสดงอาวุโส โดยนายเศรษฐา ศิระฉายา พิธีกรชื่อดังได้มอบเงินของมูลนิธิให้ส่วนหนึ่ง “คุณจรูญเสียชีวิตที่โรงพยาบาลสันกำแพง เมื่อวันที่ 11 มี.ค.2551 หลังนอนรักษาตัวอยู่นาน ได้นำศพมาตั้งสวดพระอภิธรรมที่วัดสันโค้งที่อยู่หน้าบ้าน แต่กลับไม่มีใครมาร่วมพิธีศพเลย อย่างไรก็ตาม พอชาวบ้านรู้ว่าเคยแสดงภาพยนตร์ ก็มีมาช่วยบ้างเหมือนกัน และจะฌาปนกิจใน(15 มี.ค.) ที่สุสานบ้านทรายมูล



นางกัลยากล่าวด้วยน้ำตานองหน้า สำหรับนายจรูญเป็นคนรูปร่างอ้วนและมีหน้าตาคล้ายฝรั่ง ชอบแต่งตัวแบบคาวบอยคล้ายดารานักแสดงชาวอิตาลี ในสมัยนั้นชื่อเฟอร์นันโด ซานโจ ทำให้ได้รับฉายาว่าเฟอร์นันโด ซานโจเมืองไทย แต่เพื่อนๆเรียกเมือง อพอลโล่ เลยใช้เป็นชื่อในการแสดงมาตลอด เคยเป็นนักมวย เจ้าของสนามมวย และสนามชนไก่ที่ จ.สิงห์บุรี มีผลงานที่มีชื่อเสียง เช่น ภาพยนตร์เรื่องจอมโจรมเหศวร สุภาพบุรุษเสือใบ เสาร์ห้า และนายฮ้อยทมิฬ เป็นต้น

พิภพ ภู่ภิญโญ ตำนานดาวร้ายเมืองไทย

พิภพ ภู่ภิญโญ เจ้าของเอกลักษณ์ ศีรษะโล้นเสียชีวิตเสียแล้ว ด้วยโรคเบาหวานเมื่อวันที่ 15 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่รพ.ปทุมธานี รวมอายุแล้ว 76 ปี และศพถูก ตั้งที่วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน ก่อนที่จะถูกฌาปนกิจ เอกลักษณ์ของนักแสดงวัยดึก คือการโกนผมเล่นภาพยนตร์ไทยกว่า 100 เรื่อง ภาพดาวร้ายที่มีบุคลิกต้องลูบหัวเมื่อเวลาไม่สบอารมณ์ส่งชื่อให้เขาเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ

ใครจะรู้บ้างว่า ดาวร้ายหัวโล้น พิภพ ภู่ภิญโญ สมัยที่เข้าวงการใหม่เขาหล่อเหลา ผมเต็มศรีษะ ถ้าไม่หล่อคงไม่มีโอกาสได้เป็นพระเอกหนังไทยหลายเรื่อง ไถง สุวรรณฑัต คือผู้ชักนำพิภพเข้าสู่วงการ แรกเริ่มไถงจะสร้างหนังเรื่อง เกาะตะรุเตา ก็เลยรับสมัครพระเอกใหม่ มีคนมาสมัครมากมายทั้งหน้าไทย หน้าจีน หน้าแขก เสร็จเรียบร้อยก็ได้ผู้เข้ารอบมา 15 คน ในจำนวน 15 คนนี้ก็มีนักมวยติดมาคนหนึ่งชื่อ พิภพ ภู่ภิญโญ แล้วผลการคัดเลือก พิภพ ได้รับคัดเลือกให้เป็นพระเอกในเรื่อง เกาะตะรุเตา ผลงานเรื่องแรกของพิภพผ่านพ้นไปได้ด้วยดี ทำรายได้พอสมควร พิภพยิ้มออกเลิกชกมวยหันมาเล่นหนังดีกว่า ผลงานเรื่องต่อไปก็ยังคงเป็นการสร้างของไถง สุวรรณฑัต ในเรื่อง ขุนศึกน่านเจ้า พิภพได้รับบทพระเอกเช่นเคย การรับบทพระเอกของพิภพเป็นไปได้เพียงไม่กี่เรื่อง พิภพก็ถูกให้มารับบทร้าย เมื่อเป็นเช่นนี้พิภพก็คิดหนัก จะรอเป็นพระเอกอย่างเดียวงานก็เข้าน้อย อาชีพชกมวยก็เลิกแล้ว คิดตรงกันข้ามถ้ารับบทผู้ร้ายตลอด งานการแสดงน่าจะเยอะกว่าการเป็นพระเอกมาก เมื่อเป็นเช่นนี้เลยตัดสินใจยอมรับบทร้ายแทนพระเอก ส่วนสาเหตุที่พิภพโกนหัวก็เพราะ พิภพหลงไหลในผลงานการแสดงของยูล บรินเนอร์อย่างมาก พอโกนหัวก็เลยได้รับฉายาให้เป็นยูล บรินเนอร์เมืองไทย ส่วนสาเหตุที่ใช้ชื่อ พิภพ ก็เกิดขึ้นเมื่อสมัยชกมวย เพราะว่าขณะนั่งรถสามล้อผ่านสะพานผ่านิภพลีลา เห็นผู้หญิงสาวสวยยิ้มให้ ทำให้พิภพตัดสินใจใช้ชื่อสะพานเป็นชื่อนักมวยว่า พิภพ ยนตรกิจ พิภพเกิดเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2470 เรียนที่โรงเรียนนันทนศึกษา แถวราชวัตร กทม. พ่อแม่เสียชีวิตตั้งแต่เด็ก เมื่อโตเป็นหนุ่มยิ่งลำบากเพราะเรียนมาน้อย เลยต้องหันมายึดอาชีพต้อยมวย พิภพได้พบรักกับสมพิศ มีทายาท 2 คน เขาเป็นดาวร้ายที่รุ่งเรืองอย่างมากในช่วงหนังบู๊คลองตลาด ในปี 2518 เป็นต้นมา จนถึงปี 2528 ก่อนจะหมดยุคของหนังบู๊ เมื่อหนังไทยซบเซา บู๊ก็ได้หันมายึดอาชีพค้าขาย โดยขายส้มตำ อยู่ที่บางแสน ก่อนจะจบชีวิตลงเมื่อไม่นานมานี้

สมัยที่เข้าวงการใหม่เขาหล่อเหลา ผมเต็มศรีษะ ถ้าไม่หล่อคงไม่มีโอกาสได้เป็นพระเอกหนังไทยหลายเรื่อง ไถง สุวรรณฑัต คือผู้ชักนำพิภพเข้าสู่วงการ แรกเริ่มไถงจะสร้างหนังเรื่อง เกาะตะรุเตา ก็เลยรับสมัครพระเอกใหม่ มีคนมาสมัครมากมายได้ผู้เข้ารอบมา 15 คน ในจำนวนนี้ก็มีนักมวยติดมาคนหนึ่งชื่อ พิภพ ภู่ภิญโญ พิภพ ได้รับคัดเลือกให้เป็นพระเอกในเรื่อง เกาะตะรุเตา



ผลงานเรื่องแรกของพิภพผ่านพ้นไปได้ด้วยดี พิภพเลิกชกมวยหันมาเล่นหนังดีกว่า ผลงานเรื่องต่อไปก็ยังคงเป็นการสร้างของไถง สุวรรณฑัต ในเรื่อง ขุนศึกน่านเจ้า พิภพได้รับบทพระเอกเช่นเคย การรับบทพระเอกของพิภพเป็นไปได้เพียงไม่กี่เรื่อง พิภพก็ถูกให้มารับบทร้าย เมื่อเป็นเช่นนี้พิภพก็คิดหนัก จะรอเป็นพระเอกอย่างเดียวงานก็เข้าน้อย อาชีพชกมวยก็เลิกแล้ว คิดตรงกันข้ามถ้ารับบทผู้ร้ายตลอด งานการแสดงน่าจะเยอะกว่าการเป็นพระเอกมาก เมื่อเป็นเช่นนี้เลยตัดสินใจยอมรับบทร้ายแทนพระเอก ส่วนสาเหตุที่พิภพโกนหัวก็เพราะ พิภพหลงไหลในผลงานการแสดงของยูล บรินเนอร์อย่างมาก พอโกนหัวก็เลยได้รับฉายาให้เป็นยูล บรินเนอร์เมืองไทย เขาเป็นดาวร้ายที่รุ่งเรืองอย่างมากในช่วงหนังบู๊คลองตลาด ในปี 2518 เป็นต้นมา จนถึงปี 2528 ก่อนจะหมดยุคของหนังบู๊ เมื่อหนังไทยซบเซา บู๊ก็ได้หันมายึดอาชีพค้าขาย โดยขายส้มตำ อยู่ที่บางแสน ก่อนจะจบชีวิตลงเมื่อไม่นานมานี้

วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

มิตร ชัยบัญชา

ขอเริมต้นปฐมบทแห่งความคิดถึงด้วย "มิตร ชัยบัญชา" ครับ

มิตร ชัยบัญชา (28 มกราคม พ.ศ. 2477 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2513) หรือชื่อจริง พันจ่าอากาศโท พิเชษฐ์ ชัยบัญชา (นามสกุลเดิม พุ่มเหม) เริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงปลาย พ.ศ. 2499 เป็นพระเอกภาพยนตร์ไทยในช่วง พ.ศ. 2500 - 2513 มีผลงานเด่นในช่วง พ.ศ. 2501 - 2517 ซึ่งเป็นยุคเฟื่องฟูของภาพยนตร์ 16 มม. มีผลงานนับได้ขณะนั้น 266 เรื่อง จากทั้งสิ้น 300 กว่าเรื่อง
ผลงานเรื่องแรกคือเรื่อง ชาติเสือผลงานเรื่องที่สองที่ออกฉายคือ จ้าวนักเลง หรืออินทรีแดง ทำให้มิตร ชัยบัญชามีชื่อเสียงโด่งดังเป็นอย่างมาก ทำรายได้เกินล้านบาท มิตรมีผลงานแสดงที่โดดเด่นมากและหลากหลาย ทั้งบทบู๊ รักกุ๊กกิ๊ก รักรันทด ตลก เชยเด๋อด๋า หรือชีวิตเศร้าเคล้าน้ำตา
พ.ศ. 2506 ภาพยนตร์เรื่อง ใจเพชร ทำรายได้สูงสุด และมีภาพยนตร์ที่ทำรายได้เกินล้านอีกหลายเรื่อง โดยเมื่อ พ.ศ. 2508 รับพระราชทานรางวัล "โล่ห์เกียรตินิยม"นักแสดงนำชาย ที่ทำรายได้สูงสุด จากภาพยนตร์เรื่อง เงิน เงิน เงิน ซึ่งทำรายได้เป็นประวัติการณ์ ต่อมา พ.ศ. 2509 ภาพยนตร์เรื่อง เพชรตัดเพชร ทำรายได้ทำลายสถิติ เงิน เงิน เงิน ได้ 3 ล้านบาทในเวลา 1 เดือน และรับพระราชทานรางวัลดาราทอง จากคุณสมบัติหลัก 4 ประการ คือ ศรัทธา หน้าที่ ไมตรี และ น้ำใจ ซึ่งแสดงถึงคุณภาพของผู้รับรางวัล ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2513 ภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง ของ รังสี ทัศนพยัคฆ์ เป็นภาพยนตร์เพลงลูกทุ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำรายได้มากกว่า 6 ล้านบาทและยืนโรงได้นานกว่า 6 เดือนในกรุงเทพ ทำรายได้ทั่วประเทศ กว่า 13 ล้านบาท

8 ตุลาคม พ.ศ. 2513 มิตร ชัยบัญชาเสียชีวิตขณะถ่ายทำฉากโหนบันไดเชือกเฮลิคอปเตอร์ จากภาพยนตร์เรื่อง อินทรีทอง ท่ามกลางความอาลัยของมหาชน นับเป็นบุคคลธรรมดาที่มีผู้มาร่วมงานศพมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ ได้มีการตั้งศาลบริเวณ หาดจอมเทียน พัทยาใต้ สถานที่ที่มิตร ชัยบัญชาเสียชีวิต ต่อมามีการปรับปรุงและสร้างรูปหล่อของมิตร ชัยบัญชา ในชุดอินทรีทอง ไว้ที่ศาลด้วย ปัจจุบันอยู่ด้านหลังโรงแรมจอมเทียน เมื่อ พ.ศ. 2548ได้มีการสร้างละครเรื่อง "มิตร ชัยบัญชา มายา-ชีวิต" ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ละครสร้าง ดัดแปลงมาจากเรื่องและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของมิตร ชัยบัญชา เพื่อรำลึกถึงพระเอกดาราทองยอดนิยมอันดับ 1 ของประเทศไทย เป็นที่รักของมหาชนทั่วประเทศ พ.ศ. 2549 - 2550 มีการรวมใจสร้างอนุสรณ์สถานมิตร ชัยบัญชา พร้อมหุ่นไฟเบอร์กลาส ที่บ้านไสค้าน จังหวัดเพชรบุรี บ้านเดิมของมิตร ชัยบัญชา ด้วย

ชีวิตช่วงแรกและการศึกษา
มิตร ชัยบัญชา เกิดที่อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็นบุตรชายของพลฯ ชม ระวีแสง ตำรวจชั้นประทวน กับนางยี หรือ สงวน ระวีแสง สาวตลาดท่ายาง นางยีให้กำเนิดลูกน้อย ขณะที่สามีไม่ได้ดูแลใส่ใจเพราะต้องไปปฏิบัติหน้าที่ราชการ
มิตร ชัยบัญชา เดิมเรียกกันว่า "บุญทิ้ง" เพราะพ่อแม่แยกทางกัน เมื่อมิตร ชัยบัญชาอายุได้ 1 ขวบ นางยีก็เข้ามาเป็นแม่ค้าขายผักในกรุงเทพ โดยฝากลูกชายไว้กับนายรื่นและนางผาด ซึ่งเป็นปู่และย่าของมิตร ชัยบัญชา ที่หมู่บ้านไสค้าน เมื่อนายรื่นและนางผาด เห็นว่าตนอายุมากขึ้นทุกวัน จวนจะเป็นไม้ใกล้ฝั่งเข้าทุกที จึงฝากเลี้ยงไว้กับสามเณร แช่ม ระวีแสง ผู้เป็นอา ซึ่งบวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดท่ากระเทียม ชีวิตในวัยเด็กของมิตร ต้องติดสอยห้อยตามสามเณรแช่มซึ่งต่อมาบวชเป็นพระภิกษุอยู่ที่วัดสนามพราหมณ์ เป็นเด็กวัดที่อาศัยข้าวก้นบาตรกิน ในเพลง"ข้าวก้นบาตร" ที่แต่งโดย สมโภชน์ ล้ำพงษ์ และ บำเทอง เชิดชูตระกูล มีเนื้อเพลงบางท่อนกล่าวถึงชีวิตของ มิตร ชัยบัญชาในช่วงนี้


ต่อมา ได้เข้าศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัดไสค้าน และย้ายมาที่โรงเรียนประชาบาลวัดจันทร์ เมื่อมารดามีฐานะดีขึ้นจึงมาขอรับมิตรย้ายมาอยู่กรุงเทพ ที่บ้านย่านนางเลิ้ง เยื้องกับวัดแคนางเลิ้ง เมื่ออายุประมาณ 9 ปี เข้าเรียนที่โรงเรียนไทยประสาทวิทยา ถนนกรุงเกษโดยเป็นบุตรบุญธรรมของน้ากับน้าเขย จากชื่อ บุญทิ้ง มาเป็น สุพิศ นิลศรีทอง (นามสกุลน้าเขย) และ สุพิศ พุ่มเหม (นามสกุลของนายเฉลิมพ่อเลี้ยง) เมื่อโอนกลับมาเป็นบุตรบุญธรรมของแม่กับพ่อเลี้ยง หลังเรียนจบมัธยม ก่อนเข้าโรงเรียนจ่าอากาศ มิตรเป็นเด็กเรียนดี เก่งศิลปะ งานช่าง และ ภาษาอังกฤษ นอกจากการเรียนและทำงานรับจ้างสารพัดแล้วมิตรก็เลี้ยงปลากัด ช้อนลูกน้ำขาย รวมถึงนำจักรยานเก่ามาซ่อมให้เช่าหัดถีบ เพื่อหาเงินใช้เองโดยไม่ต้องพึ่งครอบครัว เนื่องจากแม่มีหลานหลายคนที่ต้องดูแล
นอกจากนี้ยังชอบเล่นกีฬา และ หัดชกมวยไว้ป้องกันตัว ทั้งนี้เขาสามารถคว้าเหรียญทองมวยนักเรียน 2 ปี ในรุ่นเฟเธอร์เวท และ ไลท์เวท (135 ปอนด์) พ.ศ. 2492 และ พ.ศ. 2494 จากนั้น เขาได้ย้ายไปอยู่โรงเรียนปริยัติรังสรรค์ จังหวัดเพชรบุรี อยู่ระยะหนึ่ง แล้วเรียนต่อระดับเตรียมอุดมที่ โรงเรียนพระนครวิทยาลัย และลาออกเพื่อมาสมัครสอบเข้าโรงเรียนจ่าอากาศ เพื่อรับราชการทหารอากาศ จังหวัดนครราชสีมา เพราะอยากเป็นนักบิน เริ่มการศึกษาเมื่อ พ.ศ. 2497 เป็นนักเรียนการบินรุ่นที่ ป.15 ของโรงเรียนการบินโคราช และ นักเรียนจ่าอากาศ เหล่าอากาศโยธิน รุ่นที่ 11 สำเร็จการศึกษา เดือนมีนาคม พ.ศ. 2499 ติดยศจ่าอากาศโท เมื่อ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2499 จนได้เป็นครูฝึกที่กองพันต่อสู้อากาศยาน กรมอากาศโยธิน กองทัพอากาศดอนเมือง จึงเปลี่ยนชื่อเป็นจ่าอากาศโทพิเชษฐ์ พุ่มเหม

เมื่อ พ.ศ. 2499 จ่าโทสมจ้อยได้ส่งรูปและแนะนำมิตร ชัยบัญชา หรือ จ่าเชษฐ์ ในขณะนั้น ให้รู้จักกับ ก. แก้วประเสริฐ เพื่อให้เล่นหนังเพราะเห็นท่าทาง รูปร่างหน้าตาที่หล่อและสูงสง่าของมิตร ประกอบกับบุคลิกภาพที่สุภาพอ่อนโยน กระทั่งได้พบกับ ภราดร ศักดา นักเขียนนวนิยายชื่อดัง ภราดรได้เสนอกับผู้สร้างหนังหลายราย จ่าสมจ้อยและจ่าเชษฐ์ก็ไปถ่ายรูปและส่งไปตามโรงพิมพ์ โดยกิ่ง แก้วประเสริฐเป็นผู้พลักดันพาไปพบผู้สร้างหนังรายต่างๆ ตามกองถ่าย เพราะเห็นความตั้งใจจริงของจ่าเชษฐ์ รวมถึงส่งภาพให้ผู้สร้าง และ ถ่ายภาพลงประกอบนวนิยายในนิตยสารด้วย จนกระทั่งได้รับการตอบรับให้เป็นพระเอกในภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง แต่ต้องทำใจปฏิเสธไปเพราะติดราชการสำคัญ ไม่สามารถไปพบผู้สร้างได้ หลังจากนั้นก็มักได้รับการปฏิเสธ ติจมูก ติโหนกแก้ม โดยเฉพาะเรื่องความสูง ที่จะหานางเอกมาเล่นด้วยลำบาก และจ่าเชษฐ์เองก็ไม่รับเล่นบทอื่นด้วย นอกจากพระเอก ต่อมาได้พบกับ สุรัตน์ พุกกะเวส จนกระทั่งนัดให้ กิ่ง แก้วประเสริฐ พาจ่าเชษฐ์ ไปพบทีมงานผู้สร้าง ชาติเสือ ซึ่งวางตัวเอกไว้แต่แรก หลายคนรวมทั้ง ชนะ ศรีอุบล แต่ ประทีป โกมลภิส ไม่ถูกใจเลยสักคน ต้องการดาราหน้าใหม่ ซึ่งเมื่อพบแล้วทั้งผู้สร้าง ผู้กำกับ ก็พอใจบุคลิก ลักษณะ ของจ่าเชษฐ์ จึงได้รับจ่าเชษฐ์เข้าสู่วงการหนังไทย และตั้งชื่อให้ใหม่ โดยเมื่อประทีปตั้งคำถามให้ตอบ

ก้าวสู่วงการแสดง
ภาพยนตร์ ชาติเสือ บทประพันธ์ของ เศก ดุสิต กำกับโดย ประทีป โกมลภิส เป็นเรื่องแรกที่มิตรได้ประกบกับนางเอกที่มีชื่อเสียงในขณะนั้นถึง 6 คน เช่น เรวดี ศิริวิไล นัยนา ถนอมทรัพย์ ประภาศรี สาธรกิจ และ น้ำเงิน บุญหนัก เป็นภาพยนตร์ที่เริ่มถ่ายทำในปลาย พ.ศ. 2500 และเข้าฉายในโรงภาพยนตร์เดือน มิถุนายน พ.ศ. 2501 ภาพยนตร์ทำรายได้กว่าแปดแสนบาท ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมากของสมัยนั้น ทำให้ชื่อของ มิตร ชัยบัญชา เป็นที่รู้จักของประชาชน

มิตรโด่งดังเป็นอย่างมาก จากบท "โรม ฤทธิไกร" หรือ "อินทรีแดง" ในภาพยนตร์เรื่อง จ้าวนักเลง (2502) ซึ่งเป็นบทที่มิตร ชัยบัญชา ต้องการแสดงเป็นอย่างมากหลังจากได้อ่านหนังสือ จนทีมผู้สร้าง ชาติเสือ ตัดสินใจไปพบ เศก ดุสิต พร้อม มิตร ชัยบัญชา เพื่อขอซื้อเรื่องมาทำเป็นภาพยนตร์ เศก ดุสิต พูดต่อมิตร ชัยบัญชาว่า "...คุณคือ อินทรีแดง ของผม..." ซึ่งภาพยนตร์ทำรายได้มากและมีภาพยนตร์ภาคต่อหลายเรื่อง
ต่อมามีภาพยนตร์สร้างชื่อเสียงให้มิตรอีกหลายเรื่อง เช่น เหนือมนุษย์ แสงสูรย์ ค่าน้ำนม ร้ายก็รัก ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งเก้า หงษ์ฟ้า ทับสมิงคลา ในปี พ.ศ. 2502 (ปีเดียวกับที่สร้างภาพยนตร์ จ้าวนักเลง)

มิตร ชัยบัญชา มีชื่อเสียงโด่งดังมากขึ้นเรื่อยๆ จากบทบาทการแสดงที่ประชาชนชื่นชอบ และจากวินัยที่ดีในการทำงาน รวมถึงนิสัย และอัธยาศัยต่อเพื่อนร่วมงาน มิตรเป็นพระเอกดาวรุ่งที่โด่งดังอยู่ เมื่อแสดงภาพยนตร์คู่กับเพชรา เชาวราษฎร์นางเอกใหม่ เรื่อง บันทึกรักพิมพ์ฉวี เป็นเรื่องแรกเมื่อ พ.ศ. 2504 ภาพยนตร์ออกฉาย พ.ศ. 2505 มิตรเริ่มก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งพระเอกอันดับ 1 ของประเทศ ที่เป็นที่รักของประชาชน ซึ่งต่อมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2506 ได้แสดงภาพยนตร์คู่กับเพชรามากขึ้น และเป็นที่ชื่นชอบของประชาชน ตั้งแต่ พ.ศ. 2507 จึงเป็นคู่ขวัญได้แสดงภาพยนตร์คู่กันมากที่สุดตลอดมา รับบทคู่รักในภาพยนตร์ ประมาณ 200 เรื่อง จนแฟนภาพยนตร์เรียกว่า มิตร-เพชรา (แฟนหนังบางส่วนเข้าใจผิดว่ามิตร นามสกุล เพชรา) มีแฟนภาพยนตร์จำนวนมากที่ชื่นชอบในตัวมิตร ถึงขนาดว่าถ้าไม่มีชื่อมิตรแสดงก็เดินทางกลับ ไม่ดูหนัง ทั้งที่เดินทางมาไกล แม้แฟนภาพยนตร์มักเข้าใจว่าเป็นคู่รัก แต่ก็เป็นเพียงในภาพยนตร์ ในความเป็นจริงแล้วทั้งคู่มีความสนิทสนมจริงใจเป็นเพื่อนร่วมงานที่ดีต่อกัน มิตรรักเพชราเหมือนน้องสาว ค่อยปกป้องและเป็นที่ปรึกษาแก้ปัญหาให้เพชรา แต่ก็มักโกรธกันอยู่บ่อยๆ บางครั้งไม่พูดกันเป็นเดือน ทั้งๆ ที่แสดงหนังร่วมกันอยู่ โดยเพชรา เคยกล่าวว่า มิตรเป็นคนช่างน้อยใจ
ปลาย พ.ศ. 2504 มิตรประสบอุบัติเหตุ จากการเดินทางไปดูสถานที่ถ่ายทำหนังเรื่อง ทวนสุริยะ ของ ปรีชา บุญยเกียรติ เป็นเหตุให้มิตร สะบ้าแตก หน้าแข้งหัก กระโหลกศีรษะกลางหน้าผากเจาะ และฟันหน้าบิ่น เกือบพิการ ถูกตัดขา แต่ในที่สุดก็ใส่สะบ้าเทียมและดามเหล็กยาวที่หน้าแข้ง ต้องฝึกเดินอยู่นานจึงหายเป็นปกติ แต่อุบัติเหตุครั้งนั้นทำให้ ปรีชา บุญยเกียรติ เสียชีวิต
พ.ศ. 2505 มิตรร่วมกับเพื่อนในวงการภาพยนตร์ เช่น อนุชา รัตนมาล แดน กฤษดา ไพรัช สังวริบุตร จัดตั้ง วชิรนทร์ภาพยนตร์ สร้างภาพยนตร์ 2 เรื่อง คือ ยอดขวัญจิต และ ทับสมิงคลา (ภาคหนึ่งของอินทรีแดง)
พ.ศ. 2506 มิตร ชัยบัญชา ก่อตั้ง ชัยบัญชาภาพยนตร์ ของตัวเอง สร้างภาพยนตร์เรื่อง เหยี่ยวดำ (ครุฑดำ) ซึ่งแม้ว่าชื่อเรื่องจะมีปัญหา แต่มิตรก็ฝ่าฟัน ลงทุนแก้ไข จนออกฉายได้ โดยไม่ขาดทุน ท่ามกลางความเห็นใจของประชาชนและผู้อยู่รอบข้าง มีการกล่าวกันว่า ถ้าไม่ใช่หนังของ มิตร ชัยบัญชา คงจะล่มขาดทุนไปแล้ว

ลาออกจากอาชีพทหารอากาศ
เมื่อ พ.ศ. 2506 จำต้องลาออกจากอาชีพทหารอากาศ ขณะมียศพันจ่าอากาศโท[6] เมื่อ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 เนื่องจากการสร้างภาพยนตร์เรื่อง ครุฑดำ โดย ชัยบัญชาภาพยนตร์ จากบทประพันธ์ของ เศก ดุสิต ที่เขาถูกกล่าวหาว่านำสัญลักษณ์ตราครุฑมาใช้อย่างไม่เหมาะสม ครุฑดำ จึงต้องเปลี่ยนชื่อเป็นเหยี่ยวดำ และผู้บังคับบัญชาระดับสูงในกองทัพอากาศขณะนั้นเห็นควรให้เลือกทำเพียงอาชีพเดียว มิตร ชัยบัญชา กล่าวกับแฟนๆ ที่หน้าโรงภาพยนตร์ศาลาเฉลิมกรุงขณะยืนแจกภาพถ่ายในเครื่องแบบทหารอากาศ ในวันที่ " เหยี่ยวดำ " เข้าฉาย เมื่อ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2506 ว่า

... ถึงแม้ว่าได้เลือกอาชีพการแสดงภาพยนตร์เพื่อการเลี้ยงชีพ แต่ทั้งร่างกายและจิตใจของผม คือ ทหาร ผมรักเครื่องแบบทหาร ชื่อเสียงความนิยมที่ประชาชนมอบให้ผมในฐานะนักแสดง ผมก็ถือว่าเป็นชื่อเสียงของกองทัพอากาศเช่นกัน การให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ทุกครั้ง ผมไม่เคยลืมที่จะกล่าวถึง การเป็นทหารอากาศ มากกว่าการให้สัมภาษณ์อย่างอื่น ถึงแม้ว่าการแสดงจะเป็นภาระจนทำให้ผมต้องตัดสินใจลาออก แต่จิตใจของผมและทั้งตัว คือ ทหารอากาศ

สู่การแสดงอย่างเต็มตัว
หลังจากนั้นเขาจึงได้ใช้เวลาอย่างเต็มที่กับการแสดง ทำให้มีผลงานมากถึง 35-40 เรื่องต่อปี ซึ่งเป็นจำนวนที่มากถึงครึ่งหนึ่ง หรือ มากกว่าครึ่งของจำนวนภาพยนตร์ที่ออกฉายทั้งปี กิ่งดาว ดารณี เคยให้สัมภาษณ์นิตยสาร ว่า มิตร ชัยบัญชา มีภาพยนตร์ต้องถ่ายเดือนละประมาณ 30 เรื่อง ผลงานภาพยนตร์เรื่องต่อมา ได้เพิ่มชื่อเสียงให้กับมิตร ชัยบัญชา ได้แก่ ใจเดียว, ใจเพชร, จำเลยรัก, เพลิงทรนง, อวสานอินทรีแดง, นางสาวโพระดก, เก้ามหากาฬ, ชายชาตรี, ร้อยป่า, สมิงบ้านไร่, หัวใจเถื่อน, สาวเครือฟ้า, ทับเทวา, สิงห์ล่าสิงห์, 5 พยัคฆ์ร้าย, ทาสผยอง, อินทรีมหากาฬ, เดือนร้าว, ดาวพระศุกร์, มือนาง, พนาสวรรค์, ลมหนาว, แสงเทียน, พระอภัยมณี, ปีศาจดำ, พระลอ, ทรชนคนสวย, 7 พระกาฬ, พยัคฆ์ร้ายใต้สมุทร, ชุมทางเขาชุมทอง, ไฟเสน่หา, ฟ้าเพียงดิน, เงิน เงิน เงิน, เพชรตัดเพชร ฯลฯ ในช่วงนั้นมิตรมีรายได้เข้าบัญชีธนาคารเฉลี่ยสัปดาห์ละ 1 แสนกว่าบาท ซึ่งเขาก็สละเวลา 1 วันในแต่ละปีเพื่อไปชำระภาษีอากรอย่างถูกต้อง

ภาพยนตร์เรื่อง เงิน เงิน เงิน
พ.ศ. 2507 และ 2508 ภาพยนตร์เรื่อง นางสาวโพระดก และ สาวเครือฟ้า ที่มิตร แสดงนำคู่กับ พิศมัย ได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี
เมื่อ พ.ศ. 2509 สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทยมีความคิดที่จะจัดงานมอบรางวัลให้กับดารา นักแสดง ที่มีคุณสมบัติที่ดีในการทำงาน เป็นที่รักของคนในอาชีพเดียวกัน เป็นที่รักของประชาชน มีความรับผิดชอบ และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนร่วมงาน โดยมิตร ชัยบัญชา ได้รับพระราชทานรางวัล "ดาราทอง" สาขานักแสดงนำภาพยนตร์ ฝ่ายชาย และพิศมัย วิไลศักดิ์ ฝ่ายหญิง จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร เมื่อ 24 มีนาคม พ.ศ. 2510 จากคุณสมบัติ 4 ประการ คือ ศรัทธา หน้าที่ ไมตรี และ น้ำใจ โดยก่อนหน้านั้น พ.ศ. 2508 มิตร แสดงภาพยนตร์เรื่อง เงิน เงิน เงิน เป็นภาพยนตร์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอนุสรมงคลการ ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 35 มม. ระบบซูเปอร์ซีเนสโคป สีอิสต์แมน ร่วมแสดงกับ เพชรา เชาวราษฎร์, ชรินทร์ นันทนาคร, สุมาลี ทองหล่อ, สุเทพ วงศ์กำแหง, อรสา อิศรางกูร ณ อยุธยา ทำรายได้มากเป็นประวัติการณ์ และมิตร-เพชรา ได้รับพระราชทานโล่ห์เกียรตินิยม ของสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิง จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในงานมอบรางวัลตุ๊กตาทอง ประจำ พ.ศ. 2508 เมื่อ วันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2509 ในฐานะนักแสดงนำที่ทำรายได้สูงสุด จากภาพยนตร์เรื่อง เงิน เงิน เงิน ต่อมา พ.ศ. 2509 ภาพยนตร์เรื่อง เพชรตัดเพชร สามารถทำรายได้สูงกว่า เงิน เงิน เงิน
13 มีนาคม พ.ศ. 2510 มิตร ชัยบัญชา ขอเปลี่ยนนามสกุลที่อำเภอดุสิต โดยขอจดทะเบียนตั้งชื่อสกุลว่า "ชัยบัญชา" หลังจากอยู่วงการภาพยนตร์ร่วม 10 ปี โดยตามบัตรประชาชนใบใหม่ที่ออกให้เมื่อ 3 มกราคม พ.ศ. 2512 หมดอายุ วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2518 ใช้ชื่อและนามสกุลว่า พิเชษฐ์ ชัยบัญชา
การเสียชีวิต
เมื่อ พ.ศ. 2513 มิตรมีโครงการภาพยนตร์ ที่แสดงนำและกำกับการแสดงเป็นเรื่องแรก ในเรื่อง อินทรีทอง ซึ่งเป็นภาพยนตร์ชุด "อินทรีแดง" เรื่องที่ 6 ที่มิตรแสดงในบท โรม ฤทธิไกรหรือ อินทรีแดง ที่ต้องออกสืบหาอินทรีแดงตัวปลอม รับบทโดยครรชิต ขวัญประชา แสดงร่วมกับ เพชรา เชาวราษฎร์ รับบทวาสนา
การถ่ายทำสำเร็จได้ด้วยดีจนถึงฉากสุดท้ายของเรื่อง ถ่ายทำที่หาดดงตาล พัทยาใต้ จังหวัดชลบุรี เมื่อ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2513 เวลา 9.00 น. ในเรื่องหลังจากอินทรีแดงปราบผู้ร้ายได้แล้ว จะหนีตำรวจออกจากรังของคนร้าย โดยโหนบันไดเชือกจากเฮลิคอปเตอร์ซึ่งมีวาสนาเป็นผู้ขับ กล้องจะเก็บภาพเฮลิคอปเตอร์พาอินทรีแดงบินลับหายไป


เพื่อความสมจริง และความไม่พร้อมของเสื้อผ้าของนักแสดงแทน มิตรตกลงว่าจะแสดงฉากนี้ด้วยตัวเอง โดยกำหนดการถ่ายทำไว้อย่างละเอียด แต่ด้วยความผิดพลาดทางเทคนิคที่มิตรไม่อาจรู้ได้ เพราะกำลังแสดงอยู่ ปรากฏว่าด้วยแรงกระตุกของเครื่องขณะบินขึ้น โดยที่มิตรไม่ได้เหยียบบนบันได และต้องโหนตัวอยู่กับบันได เครื่องไม่ได้ลงจอดเมื่อผ่านหน้ากล้องแล้ว มิตร พยายามให้สัญญาณด้วยการตบเท้าเข้าหากัน ในขณะที่นักบินมองไม่เห็นความผิดปกติและการให้สัญญาณจากพื้นล่าง ยังบินสูงขึ้นต่อไป และเกิดแรงเหวี่ยงในจังหวะที่เครื่องเลี้ยวกลับ ทำให้มิตรไม่สามารถโหนตัวต่อไปได้ ตกลงมาจากเฮลิคอปเตอร์กระแทกกับพื้น จากความสูง 300 ฟุต เขาถูกนำส่งโรงพยาบาลศรีราชาด้วย เฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวภายใน 5 นาที แต่สายเกินไป จากผลการชันสูตรศพยืนยันว่า เขาเสียชีวิตทันที เพราะร่างกายแหลกเหลวไม่มีชิ้นดี เชือกบาดข้อมือเป็นแผลลึก 2 ซ.ม. ยาว 8 ซ.ม. กระดูกขากรรไกรข้างขวาหัก กระดูกโหนกแก้มซ้ายขวาหัก มีเลือดออกทางหูขวา กระดูกซี่โครงขวาหัก 5 ซี่ กระดูกโคนขาขวาหัก กระดูกต้นคอหัก โดยเสียชีวิตเมื่อเวลาประมาณ 16.13 น.
พิธีพระราชทานเพลิงศพ ที่วัดแค นางเลิ้ง
9 ตุลาคม พ.ศ. 2513 หนังสือพิมพ์ไทยทุกฉบับพาดหัวข้อข่าวการตายของเขา ซึ่งกระจายข่าวไปถึงญี่ปุ่น ฮ่องกง และไต้หวัน หลังจากข่าวการตายของเขา ทรัพย์สินส่วนใหญ่ของเขาถูกเคลื่อนย้ายออกจากบ้านทั้ง 3 หลัง ไม่มีเสื้อผ้าเหลือแม้แต่ชุดเดียวที่จะสวมใส่ให้ใหม่ตอนรดน้ำศพ
ศพของมิตร ชัยบัญชา ตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดแคนางเลิ้ง หลังจากครบ 100 วัน พิธีพระราชทานเพลิงศพจัดเมื่อ 21 มกราคม พ.ศ. 2514 มีประชาชนหลั่งไหลเข้าไปร่วมงานจำนวนหลายหมื่นคน สำหรับการพระราชทานเพลิงศพย้ายจากวัดแคไปวัดเทพศิรินทร์ มีประชาชนหลั่งไหลไปร่วมงานกว่า 3 แสนคน จนกระทั่ง ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวว่าเป็นงานศพของสามัญชนที่มีผู้ไปร่วมงานมากที่สุดในประวัติศาสตร์
ชีวิตส่วนตัว มิตร สมรสกับภรรยาชื่อ จารุวรรณ สรีรวงศ์ อย่างเงียบๆ เมื่อ พ.ศ. 2502 มีบุตรชายชื่อ ยุทธนา พุ่มเหม เมื่อ พ.ศ. 2504 แต่ชีวิตสมรสไม่ราบรื่น เนื่องจากมิตรไม่มีเวลาให้ ต้องทำงานตอนกลางวัน ถ่ายหนังตอนกลางคืนและวันหยุด และต้องปกปิดต่อสาธารณชนถึงสถานภาพการแต่งงาน เพื่อรักษาความนิยมจากแฟนภาพยนตร์ รวมทั้งภรรยาไม่ค่อยเข้าใจถึงสภาพการทำงาน และความตั้งใจจริงของมิตร ทั้งคู่จึงหย่าขาดกันในเวลาต่อมา ( พ.ศ. 2506 ) ส่วนบุตรชายมิตรยังรับผิดชอบส่งเสียเงินทองให้สม่ำเสมอ รวมถึงเรื่องการศึกษาด้วย เมื่อมิตร เสียชิวิตบุตรชายเรียนอยู่ชั้น ป.4 โรงเรียนเซนต์จอห์น โดยมีชื่อของ มิตร ชัยบัญชาเป็นบิดา
หลังจากนั้นเขาได้รักและใช้ชีวิตคู่อย่างไม่เปิดเผยกับ กิ่งดาว ดารณี โดยผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่ายรับทราบ อยู่ 5 ปี จากบ้านของแม่ที่นางเลิ้ง ไปเช่าบ้านอยู่ที่ซอยกลาง สุขุมวิท จนกระทั่งมิตร ซื้อที่ดินปลูกบ้านในซอยจันทโรจน์วงศ์ เมื่อ พ.ศ. 2507-2508 และเข้าอยู่ร่วมกันเป็นคู่ชีวิตที่บ้านทั้ง 2 หลังในพื้นที่ 200 กว่าตารางวา ทั้งที่รักกันมากแต่ชีวิตรักก็ลุ่มๆ ดอนๆ ด้วยการที่ทั้งคู่มีความสามารถ และ มีความมั่นใจในตัวเองสูง อารมณ์ที่เกิดจากมิตรมีภาระที่รับผิดชอบมาก และต้องการทำงานให้สำเร็จ มีเวลาพักผ่อนน้อย การหึงหวงของทั้งคู่ และทิฐิต้องการเอาชนะของฝ่ายหญิง กระทั่งเลิกลากันไปด้วยความเสียใจของทั้ง 2 ฝ่าย โดยเฉพาะมิตร หลังมิตรลงสมัครเลือกตั้งต้น พ.ศ. 2512 กิ่งดาวไปใช้ชีวิตเรียนหนังสืออยู่ที่ประเทศอังกฤษ
ก่อนเสียชีวิตเพียงไม่นาน เขาได้พบรักใหม่กับ ศศิธร เพชรรุ่ง คู่ชีวิตคนที่ 3 ซึ่งมิตรได้ไปขอกับพ่อแม่ของศศิธรและปลูกบ้านให้ที่ อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก ให้เงินเดือนใช้เดือนละ 1,000 บาทซึ่งต่างจากตอนที่อยู่กับกิ่งดาว ดารณี คู่ชีวิตคนที่ 2 ที่ให้เดือนละ 10,000 บาท[15]เป็นค่าใช้จ่ายภายในบ้านและใช้ส่วนตัว

ปฐมบทแห่งความคิดถึง

บทบาทการแสดงของดาราที่ทำให้พวกเราได้ชื่นชมผลงานกันจนทุกวันนี้ บางคนก็ลาโลกไปเร็วซะเหลือเกิน จะด้วยอุบัติเหตุ หรือ โรคภัยไข้เจ็บก็ตามแต่ นึกถึงตอนที่มีข่าวว่า พวกเค้าเหล่านั้น "เสียชีวิต" แล้ว...เราก็อดช็อคกันไม่ได้จริงๆ ลองมาย้อนรำลึกถึงพวกเค้ากัน ดูซิว่า พวกเค้ายังอยู่ในใจคุณ หรือว่า เลือนหายไปจากความทรงจำแล้ว ??!!